Thailand as A Game Changer in Wildlife Trade

“สตีเวน กัลสเตอร์” (Steven Galster) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฟรีแลนด์ องค์กรระดับสากล เพื่อต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย กล่าวว่า การแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 สร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งความตาย ความเจ็บป่วย และการชะงักงันทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลร้ายกว่าภัยธรรมชาติหรือการก่อการร้ายตลอดช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

แม้การรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของประเทศไทย จะเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ด้วยผลลัพธ์ของผู้ติดเชื้อที่ต่ำมาก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตน้อยที่สุดในโลก แต่วันนี้ประเทศไทย ยังมีประตูอีกบานที่ยังปิดไม่สนิท ซึ่งจะเปิดทางให้การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสกลับมาได้อีกครั้ง นั่นคือ “การค้าสัตว์ป่า”

การรับมือกับโควิด-19 ด้วยมาตรการต่างๆ อย่างจริงจังและการค้นคว้าวัคซีนโดยประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยเอง เมื่อประสบความสำเร็จจนยับยั้งไวรัสโควิด-19 ได้ ยังไม่ได้หมายถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรค จะจบสิ้นบริบูรณ์ เพราะการระบาดของไวรัสครั้งใหม่ ยังคงเกิดขึ้นได้หากไม่ยับยั้งที่ต้นเหตุ และหนึ่งในต้นเหตุคือการค้าสัตว์ป่า

องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า 70-75% ของโรคอุบัติใหม่ เกิดจากโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ดังที่เห็นได้จากการระบาดของ โรคซาร์ส (SARS), โรคไข้หวัดนก (H5N1), โรคเมอร์ส (MERS), และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) รวมถึง โควิด-19 ซึ่งมีสาเหตุหลักจาก “สัตว์ป่า” ที่ถูกนำออกมาจากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ และมาอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ การค้าสัตว์ป่าที่เพิ่มมากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการถ่ายทอดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คนมากยิ่งขึ้น

“กัลสเตอร์” และมูลนิธิฟรีแลนด์ เป็นแนวหน้าในการรณรงค์แคมเปญระดับโลก “EndPandemics” ที่มุ่งแสดงให้ผู้คนทั่วโลกเห็นถึง “ต้นตอ” ของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เพื่อป้องกันการระบาดครั้งใหม่ที่จะเป็นตัวการสำคัญในการทำลายมนุษยชาติ

จากความร่วมมือของ 30 องค์กรทั่วโลก มูลนิธิฟรีแลนด์ มองว่า ประเทศไทยจะเป็น “ประตูสำคัญ” สู่การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดดังกล่าว โดยการ “ปิดตาย” ประตูการค้าสัตว์ป่า และก้าวสู่การเป็นผู้นำของประเทศอื่นๆ ตามแนวทาง “One Health” โดยการสร้างวัคซีนธรรมชาติ ที่จะช่วยพิทักษ์ชีวิตของผู้คน สัตว์ป่า และระบบนิเวศทั้งหมด 

ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฟรีแลนด์ ระบุว่า ปัจจุบันรัฐบาลทั่วโลก บริษัทข้ามชาติต่าง และองค์การอนามัยโลก กำลังไล่ล่าหาวัคซีนอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อป้องกันและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณมหาศาล อย่างไรก็ตาม วัคซีนตัวใหม่นี้ก็จะใช้ไม่ได้ผลกับการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การหยุด “ต้นตอ” ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเหล่านี้ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่ให้ความสำคัญ และเดินตามแนวทาง “One Health” ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รณรงค์อยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่เพียงจะช่วยพิทักษ์ชีวิตของผู้คน แต่ยังรวมถึงการรักษาชีวิตของสัตว์ป่า และระบบนิเวศทั้งหมดด้วย  

มูลนิธิฟรีแลนด์ เชื่อว่า ประเทศไทยจะเป็นผู้นำระดับโลก และสามารถสร้างสถิติการเป็นผู้นำโลกรายใหม่ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสามารถกำจัดโรคระบาดจากสัตว์สู่คนให้พ้นจากประเทศไทย ด้วยการห้ามการค้าสัตว์ป่าทุกชนิด นอกจากนี้ จะกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถหยุดการค้าสัตว์ป่าได้

“โควิด-19 เปรียบเหมือนเราเพิ่งถูกโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตัดสินใจที่ยากในเวลาอันรวดเร็ว มิฉะนั้นการระบาดครั้งต่อไปอาจสร้างความเสียหายใหญ่หลวงกว่านี้”

ปัจจุบันประเทศไทย มีกฎหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ที่บังคับใช้ในช่วงปลายปี 2562 ซึ่งเพิ่มบทลงโทษผู้ลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และทำให้การซื้อขายสัตว์ป่าทำได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางของการค้าสัตว์ป่าทั่วโลก และยังมีแนวโน้มเป็นแหล่งสำคัญของการเริ่มต้นและการแพร่กระจายของโรคระบาดจากสัตว์สู่คน

“ไวรัสชนิดร้ายแรง ไม่รู้จักความแตกต่างระหว่างสัตว์ที่ถูกซื้อขายอย่างถูกกฎหมาย หรือผิดกฏหมาย ซึ่งการค้าสัตว์ทั้ง 2 รูปแบบต่างนำอันตรายมาสู่คนไทย สัตว์ป่าในประเทศ รวมถึงสัตว์ที่นำมาเลี้ยงในบ้าน ตลอดจนเป็นอันตรายต่อชีวิต และเศรษฐกิจของชาติอื่นๆ” กัลสเตอร์กล่าว

ประเทศไทย ได้แสดงผลลัพธ์ของการอนุรักษ์ประชากรเสือโคร่งในป่าธรรมชาติ ในโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง โดยมูลนิธิฟรีแลนด์ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลไทย ในการค้นหาและปกป้องประชากรเสือโคร่งอินโดจีน หนึ่งในสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก และสามารถฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ในขณะที่ในประเทศโดยรอบประเทศไทย สัตว์ป่าตระกูลเสือใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว แต่ประเทศไทยยังสามารถฟื้นฟูจำนวนเสือโคร่งได้อย่างต่อเนื่อง

มูลนิธิฟรีแลนด์ ถือว่าความสำเร็จในการฟื้นฟูประชากรของเสื้อโคร่ง เป็น “ความมหัศจรรย์” ซึ่งจำเป็นได้รับการบอกต่อปรากฎการณ์ดังกล่าวให้กับทั่วโลกได้รับรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการฟื้นฟูชีวิตสัตว์ป่าที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง 

มูลนิธิฟรีแลนด์ ได้นำเสนอโรดแมปที่จะเปลี่ยนประเทศไทยจากทางผ่านของการค้าสัตว์ป่า สู่การเป็นผู้พิทักษ์ ชีวิตผู้คนและธรรมชาติ ประกอบด้วย

  • ห้ามการค้าสัตว์ป่า
  • ช่วยผู้ค้าที่ขายสัตว์ป่าถูกกฎหมาย ให้สามารถดำรงชีพในรูปแบบอื่น
  • ขยายโครงการฟื้นฟูชีวิตสัตว์ป่าที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างมากขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างในระดับโลก
  • นำเครือข่ายการพิทักษ์ชีวิตสัตว์ป่าแห่งอาเซียนที่มีประเทศไทยเป็นผู้นำ กลับมาดำเนินการอีกครั้ง
  • มอบอำนาจให้สำนักงานป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน ยึดทรัพย์สินของผู้ค้าผิดกฎหมาย เพื่อนำไปเป็นทุนในการคุ้มครองธรรมชาติ

สื่อมวลชน และผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ตัวแทนประชำสัมพันธ์ บริษัท กู้ดวิล คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด โทร. ฐิตาภรณ์ สุภาพ (ภรณ์) 02-010-5281 Mobile: 065-245-4454 Email : info@goodwillcom.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here